Robinhood เปิดขายหุ้นสาธารณะพร้อมแผนบุกตลาดคริปโต และนี่คือ 5 ข้อที่นักลงทุนควรรู้

แอปพลิเคชันซื้อขายหุ้นและสกุลเงินคริปโต Robinhood เตรียมเปิดขายหุ้นของบริษัทใหม่ในเครือ Robinhood บริษัทจะเสนอขายหุ้นต่อสาธารณะรอบแรก (Initial Public Offering : IPO) นั่นหมายความว่าใคร ๆ ก็สามารถลงทุนซื้อหุ้นนี้ได้

Robinhood ไม่ได้เป็นแค่แบรนด์ที่โดดเด่นในเรื่องของการเงินในกลุ่มคนยุคมิลเลนเนียล (Millennials) หรือ เจเนอเรชันวายเท่านั้น แต่ได้กลายเป็นผู้มีบทบาทในวงการคริปโตอย่างมาก


หากคุณคิดจะลงทุนกับ Robinhood นี่คือ 5 ข้อที่คุณควรรู้ (แต่ขอเตือนว่าเนื้อหาต่อไปนี้ไม่ใช่คำแนะนำในการลงทุน)


1. Robinhood สงวนหุ้น IPO ถึง 35% ให้ลูกค้าก่อน

ข้อนี้นับว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจอย่างมาก เนื่องจากโดยปกติแล้วธนาคารและบริษัทลงทุนรายใหญ่มักจะมีโอกาสเข้าซื้อหุ้นของบริษัท ก่อนที่จะมีข่าวเปิดขายหุ้นสาธารณะ ซึ่งหมายความว่านักลงทุนรายย่อยจะมีโอกาสซื้อหุ้นในช่วงที่หุ้นราคาสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดในวันแรกที่เปิดขายอยู่หลายครั้ง (แต่ก็ไม่เสมอไปทุกครั้ง) Robinhood จะปล่อยให้ลูกค้าลงชื่อเข้าซื้อผ่านระบบ “Access IPO” ในแอปพลิเคชันของบริษัท โดยบริษัทจะปล่อยหุ้นทั้งหมดจำนวน 18.6 ล้านหน่วยในครั้งนี้


2. ราคาหุ้นต่อหน่วยอยู่ที่ 38 ถึง 42 ดอลลาร์สหรัฐ

Robinhood จะเปิดเผยราคาหุ้นอย่างเป็นทางการอีกครั้ง แต่คาดว่าราคาหุ้นต่อหน่วยน่าจะอยู่ในช่วงนี้ ผู้สนใจสามารถซื้อหุ้นได้ผ่านแอปพลิเคชัน Robinhood และแพลตฟอร์มนายหน้าอย่าง Fidelity หรือ Charles Schwab เป็นต้น


3. Robinhood มีความทะเยอทะยานในวงการคริปโตมากกว่าที่หลายคนคิด

ในตอนนี้ การให้บริการธุรกิจคริปโตของ Robinhood ประกอบไปด้วยการเปิดให้ลูกค้าซื้อและขายสกุลเงินดิจิทัลบางชนิดได้ ซึ่งจริง ๆ แล้วก็ไม่ได้ต่างอะไรกับแอปพลิเคชันอื่นอย่าง Paypal หรือ CashApp ของ Sqaure ที่สามารถซื้อขายคริปโตได้ แต่ในจำนวนที่จำกัด คุณสามารถซื้อหรือขาย Bitcoin บนแพลตฟอร์มนี้ได้ แต่คุณไม่สามารถโอนสกุลเงินดิจิทัลเหล่านั้นเข้ากระเป๋าเงินอื่น ๆ หรือโอนไปยังแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลอื่น ๆ ได้

อย่างไรก็ตาม Robinhood มีแผนที่จะสร้างแพลตฟอร์มคริปโตที่คล้ายคลึงกับ Coinbase โดยให้ลูกค้าสามารถใช้กระเป๋าเงินดิจิทัลของตนเองทำธุรกรรมการเงินแบบไร้ตัวกลาง (DeFi) และอื่น ๆ ได้ นอกจากนี้ Robinhood ได้จัดตั้งแผนกพิเศษขึ้นเพื่อดูแลธุรกิจสกุลเงินดิจิทัลโดยเฉพาะ นำทีมโดยผู้บริหารไฟแรงอย่าง Christine Brown ผู้เคยประกาศว่าตนมีความกระตือรือร้นอย่างมากต่อหน้าที่ที่ได้รับ


4. การลงทุนใน Robinhood มีความเสี่ยงพอสมควร

ลงทุนกับ Robinhood ในระยะแรก ๆ อาจให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าในระยะยาว โดยเฉพาะ หากว่าบริษัทสามารถทำตามเป้าหมายที่วางไว้ได้ นั่นก็คือการเป็นแพลตฟอร์มอย่าง Charles Schwab สำหรับคนกลุ่มมิลเลนเนียล แต่สิ่งนี้อาจไม่เกิดขึ้น เนื่องจาก Robinhood เคยมีประวัติเกี่ยวกับปัญหาทางเทคนิค (ล่าสุดในเดือนพฤษภาคม) รวมถึงปัญหาด้านการให้บริการลูกค้า ซึ่งอาจทำให้ลูกค้าย้ายไปใช้บริการแพลตฟอร์มคู่แข่งได้ 


5. Robinhood พิสูจน์แล้วว่าทำกำไรให้ลูกค้าได้

จากที่กล่าวไปเบื้องต้นว่าหุ้นของ Robinhood มีความเสี่ยงอยู่พอสมควร แต่ในขณะเดียวกัน หุ้นของ Robinhood ก็สามารถทำกำไรจำนวนมากให้กับผู้ที่อยากลองลงทุนได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เนื่องจากบริษัทหลายแห่งที่เปิดขายหุ้น IPO ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ อย่าง Uber หรือ DoorDash ขาดทุนอย่างมากและก็จะยิ่งขาดทุนมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลต่อราคาหุ้นและความรู้สึกของนักลงทุนอย่างมาก อย่างไรก็ตาม Robinhood ได้พิสูจน์แล้วว่าสามารถทำกำไรให้กับนักลงทุนได้